25 กุมภาพันธ์ 2554

หัดใช้งาน XeLaTeX กับเอกสารปริญญานิพนธ์

ตอนนี้ผมเริ่มสนใจที่จะใช้งาน XeLaTeX ในการสร้างเอกสารปริญญนิพนธ์ ถือว่าเป็นการฝึกใช้งานคำสั่ง LaTeX ไปในตัว จะบันทึกคำสั่งที่น่าสนใจไว้ก้นลืม ในตอนนี้จะยังไม่เข้าใจมากนัก ค่อย ๆ ทำไป เริ่มจากการลงทุนไปซื้อคู่มือ การจัดทำเอกสารปริญญานิพนธ์ก่อน 36 บาท (แล้วทำไม?ไม่มีดาวน์โหลด) เนื่องจากรูปเล่มปริญญานิพนธ์ของประเทศไทยไม่ตรงกับต่างประเทศ แต่ละส่วนของรูปเล่มจะเขียนคำสั่งกำหนดรูปแบบเองใหม่หมด วางเป็นโครงรูปเล่มไว้ก่อนหลังจากนั้นค่อยศึกษาวิธีการสร้างเป็น User Command ที่สามารถส่งผ่าน Arguments ได้

ออกแบบให้มีโฟลด์เดอร์อยู่สามโฟลด์เดอร์ เพื่อให้สะดวกในการจัดการไฟล์เนื่องจากหลังจากคอมไพล์แล้วจะมีไฟล์ย่อย ๆ เกิดขึ้นมากเมื่อแยกโฟลด์เดอร์ ไฟล์ .aux และ .log ก็จะกระจายไปตามโฟลด์เดอร์ย่อยด้วย แล้วคุมบนสุดด้วย FullReport.tex ตัวเดียว แยกตามส่วนคือ
  1. front ไว้จัดเก็บไฟล์ของส่วนหน้าของเอกสาร
  2. body เก็บ chap01 - 05
  3. ส่วนหลัง จะเก็บการอ้างอิง

ข้อกำหนด
  • ตัวอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้แบบ Angsana New ตลอดทั้งเล่ม ดังนั้นต้องใช้งาน XeLaTeX แน่นอน เพื่อดึง True Type Font ของระบบวินโดว์ แต่ต้องมีเทคนิคนิดหน่อยเกี่ยวกับวรรณยุกต์ลอย

ส่วนประกอบของปริญญานิพนธ์
  1. ส่วนนำ (Front Matter)
  2. ส่วนเนื้อหา (Body Matter)
  3. ส่วนอ้างอิง (Back Matter)
ส่วนนำ ยังแบ่งเป็นส่วนต่าง ๆ อีกดังนี้
  1. ปกนอก
  2. รองปกใน หน้าเปล่า
  3. ปกใน ภาษาไทย
  4. ปกใน ภาษาอังกฤษ
  5. ใบรับรองปริญญานิพนธ์ ภาษาไทย
  6. ใบรับรองปริญญานิพนธ์ ภาษาอังกฤษ
  7. บทคัดย่อ ภาษาไทย
  8. บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ
  9. กิตติกรรมประกาศ
  10. สารบัญเนื้อเรื่อง
  11. สารบัญรูป
  12. สารบัญตาราง (ถ้ามี)
  13. สารบัญสัญลักษณ์ (ถ้ามี)

คำสั่ง
  • ไม่ต้องการให้แสดงเลขหน้า ใช้ \thispagestyle{empty}
  • ต้องการแสดงเลขหน้าเป็นภาษาไทย ใช้ \pagenumbering{thaialph}
  • ใช้งานแพกเกจ fancyhdr เพื่อควบคุมส่วนหัวกระดาษ ท้ายกระดาษ
  • แทรกหน้าเปล่าแบบไม่มีเลขหน้า ใช้ \newpage\thispagestyle{empty}\mbox{}\newpage
  • ซ่อนหมายเลขหน้าของแผ่นแรกแต่ละบท หลังคำสั่ง \chapter{....} ใช้ \thispagestyle{empty}
  • การแทรกคำว่าหน้าใต้คำว่าสารบัญใช้แพกเกจ tocloft คำสั่ง \renewcommand\cftaftertoctitle{\hfill\null\\\null\hfill\textbf{หน้า}}  ดูอ้างอิงได้ที่นี่
แพกเกจ
  • tocloft ใช้ในการควบคุมสารบัญ ยังไม่แน่ใจวิธีใช้งาน แต่จะทดลองใช้แพกเกจนี้ก่อน เนื่องจากวิธีแก้ปัญหาแบบเดิมใช้ได้กับ LaTeX แต่มีปัญญากับ XeLaTeX และทดสอบดูแล้วใช้งานร่วมกับแพกเกจ polyglossia ได้ และเห็นว่าใช้แพกเกจ titletoc จะมีปัญหากับ XeLaTeX (แต่ยังไม่ได้ลอง)



เว็บอ้างอิง

3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ19 มีนาคม 2554 เวลา 16:00

    สนใจเอา class ที่ผมทำไว้ไปทดสอบไหมครับ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ3 เมษายน 2555 เวลา 16:59

    เยี่ยมมากครับ ผมเองก็กำลังฝึกใช้ Latex เหมือนกัน เคยใช้เมื่อปี 43-45 ตอนนั้นต้องใช้บน Linux แล้วก็ไม่ค่อยได้เล่นอีกเลย 10 ปีแล้ว กลับมาคราวนี้ มีอะไรใหม่ๆเยอะ ตอนแรกก็งงเหมือนกัน กำลังตามศึกษาอยู่ครับ

    ตอบลบ
  3. ตอนนี้ไปเปิดกระทู้ไว้ที่ ThaiTUG.daytag ที่อ.สุดชายเปิดเว็บไว้ครับ
    ว่าจะลองใช้ XeLaTeX ทดสอบดูครับเนื่องจากลงฟอนต์ Angsana ตามที่หลาย ๆ มหาวิทยาลัยระบุไว้ ที่ต้องทดสอบสร้างดูครับ เห็นมีคนให้ความสนใจกันพอสมควร แต่แหล่งข้อมูลก็จะสูญหายไปตามกาลเวลา เลยอาจจะหาทางรวบรวมมาเก็บไว้ อย่างน้อยก็เป็นประวัติศาสตร์การพัฒนาครับ

    เรียนเชิญได้ที่ กระทู้นี้ได้นะครับ
    โครงการจัดทำ sty สำหรับรูปเล่มปริญญานิพนธ์
    http://thaitug.daytag.org/wordpress/bbpress/topic.php?id=106#post-240

    ตอบลบ